วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การแสดงผลออกทางหน้าจอ


แสดงผลออกทางหน้าจอ
          การ ทำงานพื้นฐานที่สุดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรม คือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้

คำสั่ง printf
          คำสั่ง printf  ถือได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม int ทศนิยม float ข้อความ string  หรืออักขระ  นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง  โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความ ต้องการได้อีกด้วย 
รูปแบบคำสั่ง prinft
printf(“ข้อความ”)                                                                หรือ
printf(“รหัสควบคุมรูปแบบ”,ตัวแปร)                                หรือ
printf(“control string”,variable list,…….);  
                โดยค่าที่ส่งเข้าไปในฟังก์ชั่นจะมีสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่าสตริงฟอร์แมต เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมลักษณะการแสดง และส่วนที่สองหมายถึงค่าคงที่ หรือตัวแปรที่จะให้แสดงผล โดยฟังก์ชั่นจะพิมพ์ค่าที่อยู่ในตัวแปรในส่วน variable list ในรูปแบบที่กำหนดโดย Control string
                               
รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ
  แสดงได้ดังนี้
รหัสควบคุมรูปแบบ
การนำไปใช้งาน
%d
ให้พิมพ์รูปแบบเลขจำนวนเต็มฐานสิบ
%u
ให้พิมพ์รูปแบบเลขจำนวนเต็มไม่มีเครื่องหมาย
%f
ให้พิมพ์รูปแบบเลขทศนิยม
%e
ให้พิมพ์เลขจำนวนจริงในรูปแบบเลขยกกำลัง
%c
ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวเดียว (Char)
%s
ให้พิมพ์ชุดตัวอักษร (string) หรือข้อความ
%%
ให้พิมพ์เครื่องหมาย %
%o
ให้พิมพ์เลขฐานแปด
%x
ให้พิมพ์เลขฐานสิบหก

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง printf  แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้
printf("Hello Program C");
แสดงข้อความ Hello Program C ออกทางขอภาพ
printf("Saitongwittaya School");
แสดงข้อความ Saitongwittaya School ออกทางจอภาพ
printf("Thailand");
แสดงข้อความ Thailand  ออกทางจอภาพ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
main()
{
   clrscr();
   prinft("Saitongwittaya School \n");
   printf("Program C\n");
getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
Saitongwittaya School
Program C
     ส่วนตัวอย่างการใช้คำสั่ง  printf  แสดงผลจากค่าของตัวแปรหรือนิพจน์ การคำนวณออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้  โดยกำหนดให้
ตัวแปร  x  เก็บจำนวนเต็ม  45
printf("total value = %d",x);   แสดงข้อความ total value = 45 ออกทางจอภาพ
แสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล
          นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf
รหัส
ผลที่ได้
\n
ให้ขึ้นบรรทัดใหม่
\t
ให้เว้น tab เป็นระยะ 8 ช่วง
\xhh
ใส่ตัวอักษร hh เมื่อเป็นเลขฐานสิบหก
\a
ส่งเสียงบีป
\\
เครื่องหมาย Backslash
          การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย "  "  ดังตัวอย่าง
printf("Hello ... \n");
แสดงข้อความ Hello ...  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf("Hello...\nRoi-et\n");
แสดงข้อความ Hello ...แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความ Roi-et จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf("Num1 = %d\tNum2 = %f\n",x,z);
แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153

*********************************************************************************
แบบฝึกหัด
1. จง เขียนโปรแกรมแสดงประวัติของนักเรียนคนละ 10 บรรทัด พร้อมตกแต่งให้สวยงาน ใช้คำสั่ง Printf (5 คะแนน)
2. จากโปรแกรมต่อไปนี้ จงแก้ไขให้ถูกต้อง  (5 คะแนน)
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
main();
{
   prinft(Saitongwittaya School \n);
   printf("Program C\n")
getch();

*********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น