ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง
ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้
และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ
aaaaaการจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
รูปที่ 2.1 แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ
ตัวอย่างข้อมูลและสารสนเทศ
รูปที่ 2.2 ตัวอย่างระเบียนประวัติของนักเรียน
ข้อความบนระเบียนประวัติของนักเรียนจากรูปที่
2.2 ทำให้ทราบว่า เพชร แข็งขัน เป็นนักเรียนชาย
เกิดวันที่ 12 เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช 2525 ดังนั้นข้อความ เพชร แข็งขัน ชาย และ 12 ม.ค. 2525
ที่อยู่บนระเบียนประวัตินักเรียนจึงเป็นข้อมูล
ถ้ามีการนำข้อมูลเกี่ยวกับปีเกิดของนักเรียนทั้งโรงเรียนจากระเบียนประวัติไปแจกแจงตามปีเกิด
ตามรูปที่ 2.3
รูปที่ 2.3 ตัวอย่างสารสนเทศที่ได้จากการแจกแจงข้อมูลตามปีเกิด
การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ
จะถูกแปลงเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ กล่าวคือ ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีลักษณะเป็นสัญญาณดิจิทัล (สัญญาณไฟฟ้า) ซึ่งลักษณะการแทนข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้รหัสของเลขฐานสอง (binary
number) ประกอบด้วยเลข 2 ตัวคือ 0 และ 1 (0 แทนสัญญาณปิดและ 1 แทนสัญญาณเปิด)
ตัวเลข 0 และ 1 ของระบบเลขฐานสองแต่ละตัวจะมีหน่วยเรียกว่าบิต
(bit) ซึ่งมาจากคำว่า Binary digit การนำตัวเลข
0 และ 1 เขียนเป็นชุดเพื่อแทนอักขระต่างๆ
โดยทั่วไปจะประกอบด้วยเลข 0 หรือ 1 จำนวน
8 บิตเรียงกัน เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะสามารถแทนอักษร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ได้ 1 ตัว
รหัสแทนข้อมูล
รหัสแอสกีและเอบซีดิค จะใช้เลขฐานสอง (0 หรือ
1) จำนวน 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัว หรือ
1 byte ดังนั้นรหัสแทนข้อมูลทั้งแอสกีและเอบซีดิคจะสามารถแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด
28 หรือ 256 แบบ
Unicode เป็นรหัสแบบ 16 บิต
จึงมีความสามารถในการแทนข้อมูลได้สูงถึง 216 หรือเท่ากับ
65,536 แบบ อย่างไรก็ตาม รหัสแอสกีก็ยังสามารถใช้ได้กับรหัส Unicode
เนื่องจากอักขระ 256 ตัวแรกของ Unicode
จะมีลักษณะเดียวกับรหัสแทนข้อมูลแบบแอสกี แต่จะเติม 0 ไว้ข้างหน้าจำนวน 8 บิต เช่น 0111 0100 ในรหัสแอสกีแทน t ถ้าเป็นUnicode จะเป็น 0000 0000 0111 0100
หน่วยของข้อมูล
ความหมายของศัพท์ที่ใช้
คำศัพท์
|
ความหมาย
|
บิต (Bit )
|
หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุด
|
ไบท์ (Byte )
|
หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นตัวอักษร
|
ฟิลด์
( Field ) |
หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลาย
ๆ ตัวอักษร
เพื่อแทนความหมายของสิ่งหนึ่ง เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ เป็นต้น
|
เรคคอร์ด ( Record )
|
หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาฟิลด์หลาย
ๆ ฟิลด์ มารวมกันเพื่อแสดงรายละเอียด ข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เช่น เรคคอร์ดหนึ่ง ๆ
ของพนักงานประกอบด้วย ฟิลด์ ต่าง ๆ เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ แผนก เงินเดือน เป็นต้น
|
แฟ้มข้อมูล
( File )
|
หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเรคคอร์ดหลาย
ๆ เรคคอร์ดมารวมกัน
|
เอนทิตี้
( Entity ) |
ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเกี่ยวกับคน
สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้พนักงาน สินค้า ลูกค้า การสั่งซื้อ เป็นต้น
|
แอทริบิวต์
( Attribute )
|
รายละเอียดขอข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง
ๆ เช่น เอนทิตี้พนักงานประกอบด้วย
แอทริบิวต์รหัสพนักงาน ชื่อ ที่อยู่ หรือแอทริบิวตแผนก ประกอบด้วย แอทริบิวต์รหัสแผนก ชื่อ เป็นต้น
|
ความสัมพันธ์
( Relationship ) |
คำกิริยาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองเอนทิตี้
เช่น เอนทิตี้พนักงาน และเอนทิตี้แผนก มีความสัมพันธ์ในด้าน “ ทำงานสังกัดอยู่ ” นั่นคือพนักงานแต่ละคนทำงานอยู่ในแผนกใดแผนหนึ่ง เป็นต้น |
หน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
จิกะไบต์ (gigabyte) หรือ จิกะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร 1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม
พหุคูณของไบต์
อุปสรรคฐานสิบ
|
อุปสรรคฐานสอง
|
||||
ชื่อ
|
สัญลักษณ์
|
ค่าพหุคูณ
|
ชื่อ
|
สัญลักษณ์
|
ค่าพหุคูณ
|
กิโลไบต์
|
KB
|
103
|
กิบิไบต์
|
KiB
|
210
|
เมกะไบต์
|
MB
|
106
|
เมบิไบต์
|
MiB
|
220
|
จิกะไบต์
|
GB
|
109
|
จิบิไบต์
|
GiB
|
230
|
เทระไบต์
|
TB
|
1012
|
เทบิไบต์
|
TiB
|
240
|
เพตะไบต์
|
PB
|
1015
|
เพบิไบต์
|
PiB
|
250
|
เอกซะไบต์
|
EB
|
1018
|
เอกซ์บิไบต์
|
EiB
|
260
|
เซตตะไบต์
|
ZB
|
1021
|
|||
ยอตตะไบต์
|
YB
|
1024
|
ลักษณะการประมวลผลข้อมูล
ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่เราสนใจ
ส่วน สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมถูกต้อง
จนได้รูปแบบผลลัพธ์ ตรงความต้องการของผู้ใช้ ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
จะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้
จะทำให้เกิดผลเสียหายมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ
และมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
โดยปกติความผิดพลาดของการประมวลผลส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร
การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว
ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียกค้นและรายงาน
ตามความต้องการของผู้ใช้
3.ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมและวิธีการทางปฏิบัติ
ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศ ต้องสำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์เหมาะสม
4.ความชัดเจนกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลต้องใช้พื้นที่ในการจัด
เก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัด
สื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
เก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัด
สื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
5.ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องสำคัญ
ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล
ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตข้อมูล ที่สอดคล้องกับความต้องการ
ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง
ประกอบกันคือ
1.
การรวบรวมข้อมูล
2.
การแยกแยะ
3.
การตรวจสอบความถูกต้อง
4.
การคำนวณ
5.
การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
6.
การรายงานผล
7.
การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
การประมวลผลข้อมูล
จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่ รอบๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมากในการใช้งานจึงต้องมีการประมวลผล
เพื่อให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ
จึงประกอบด้วยกิจกรรมการ เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ ความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งแยกข้อมูล
การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และกิจกรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้อง มีการทำสำเนา
ทำรายงาน เพื่อแจกจ่าย
วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ
คือ
(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง
(terminal)
ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด
เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ
เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
หรือที่เรียกว่า โพล (poll)
ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้
เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
********************************************************
************** แบบทดสอบ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ ************
***************** คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ ********************
*******************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น